
“มุ่งสู่ตำบลเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมโดดเด่นควบคู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์”
ต้นไม้ หมายถึง การอาศัยอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนในตำบลทาขุมเงิน ที่เปรียบเสมือน ต้นไม้ที่คอยให้ร่มเงาและความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
ขุมเงิน หมายถึง แผ่นดินอันเป็นที่มาของทรัพย์สมบัติเงินทอง โดยมีประวัติในการค้นพบหลุมเงินหลุมทอง ในพื้นที่ของบ้านขุมเงิน และได้นำมาเป็นชื่อของตำบลทาขุมเงินตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
พันธกิจ
พันธกิจที่ 1 ปรับปรุงและพัฒนาระบบคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ได้มาตรฐาน
มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่น
พันธกิจที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัว และชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้
ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจที่ 3 สร้างระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนพัฒนา การตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ในการบริหารและการปกครอง
พันธกิจที่ 4 ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
พันธกิจที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านท่องเที่ยว และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
พันธกิจที่ 6 การสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินการคลัง โดยการปรับปรุงกระบวนการบริหารการเงินการคลังให้สอดรับกับอำนาจหน้าที่และภารกิจที่มีอยู่เดิม และที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจจากการกระจายอำนาจ
ยุทธศาสตร์ของเทศบาล 7 ด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ
1.1 แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ถนน สะพาน ทางเท้า
รางระบายน้ำ
1.2 แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
1.3 แนวทางการปรับปรุงและจัดหาแหล่งน้ำ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
2.1 แนวทางการส่งเสริมและการพัฒนาอาชีพแก่ประชาชน
2.2 แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาปัจจัยเกื้อหนุนด้านเศรษฐกิจในท้องถิ่น
2.3 แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรกร
2.4 แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม
3.1 แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา
3.2 แนวทางการสืบสาน อนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.1 แนวทางการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.2 แนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.3 แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการศึกษาและการกีฬา
5.1 แนวทางการส่งเสริมการศึกษาในท้องถิ่น
5.2 แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาในท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านสาธารสุข
6.1 แนวทางการเสริมสร้างสุขภาพแก่ประชาชน
6.2 แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาระบบสาธารณสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการเมือง-การบริหาร
7.1 แนวทางการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กร
7.2 แนวทางการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพบุคลากรในองค์กร
7.3 แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และสถานที่ปฏิบัติงาน
7.4 แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น
7.5 แนวทางการปรับปรุงและพัฒนารายได้ของท้องถิ่น
7.6 แนวทางการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน