ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็ปไซต์เทศบาลตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
สายด่วนนายก

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

แบบคำขอใช้ห้องประชุม

คู่มือประชาชน

ปราบปรามทุจริต

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

ศูนย์ดำรงธรมม

ข่าวสารอาเซียน





facebook

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดลำพูน

จัดหางานลำพูน

สำนักงานคณะกรรมการ ปปช.

สตง

กรมบัญชีกลาง

ข่าวรัฐบาลสู่ประชาชน

ไทยตำบล

บริการข้อมูลข่าวสารตลากแรงงาน

ตรวจเช็คอีเมล์

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 28/12/2559
วันนี้
92
เมื่อวานนี้
77
เดือนนี้
2,876
เดือนที่แล้ว
3,582
ปีนี้
25,616
ปีที่แล้ว
30,367
ทั้งหมด
171,310
ไอพี ของคุณ
44.192.115.114
ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลทาขุมเงิน

1.  สภาพทั่วไป

      ตำบลทาขุมเงินเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอแม่ทา  จังหวัดลำพูน  เดิมชื่อ  ตำบลทาทุ่งแฝง ซึ่งสมัยนั้นมี  “แสนสุริยะภักดี”  เป็นกำนันตำบลทาทุ่งแฝงจึงยุบโดยปริยายแล้วไปขึ้นกับตำบลทากาศ  ซึ่งมี  “ขุนธนุก ทากาศ” เป็นกำนัน และมี นายอรรณพ  พงษ์พานิช เป็นปลัดกิ่ง สมัยนั้นอำเภอแม่ทายังเป็นกิ่งอำเภออยู่ ต่อมาทางราชการได้มีการเลือกตั้งกำนันขึ้นที่ตำบลทาทุ่งแฝงเดิมอีกครั้งหนึ่ง  สมัยก่อนการเลือกตั้งกำนันเอาผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้นๆเป็นผู้เลือก ปรากฏว่าได้นายไทย  ไชยชะนะ  บ้านทาขุมเงิน  หมู่ที่ 1 ได้เป็นกำนันตำบลทาทุ่งแฝง  ต่อมา ร.ต.ท.แก้ว  เนตรโยธิน ได้มาเป็นนายอำเภอแม่ทาและเคยออกเยี่ยมเยียนประชาชน และตรวจเยี่ยมโรงเรียน    นายจรัล  จันทิมา  ซึ่งเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านขุมเงินซึ่งเป็นผู้เขียนบันทึกประวัติตำบลทาขุมเงินได้เคยพบปะกับท่านที่บ้านกำนันบ่อย เพราะเคยรู้จักกันตั้งแต่สมัยท่านเป็นนายตำรวจ จึงได้พูดคุยกันถึงชื่อของตำบล คืออยากจะเปลี่ยนชื่อตำบลให้เป็นไปตามชื่อบ้านของกำนันเพราะกำนันอยู่บ้านทาขุมเงิน เพื่อความเหมาะสมและเป็นศิริมงคลแก่หมู่บ้านและตำบล จึงตกลงกันเปลี่ยนชื่อตำบลทาทุ่งแฝงมาเป็น “ตำบลทาขุมเงิน” ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันโดยทางอำเภอได้ดำเนินการตามขั้นตอนไปถึงจังหวัดตามระเบียบของทางราชการ
    ตำบลทาขุมเงิน ได้ยกระดับเป็นสภาตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล ปี พ.ศ. 2537  ซึ่งเป็นนโยบายการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น  ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและได้ให้มีผลบังคับในราชกิจจานุเบกษา  วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 หลังจากที่ยกฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกหมู่บ้านละ 2 คน และ กำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน แพทย์ประจำตำบลเป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง คราวละ 4 ปี ใน 4 ปีแรก มี สิบตรีถนอม เขียวกาศ  กำนันตำบลทาขุมเงิน เป็นประธานกรรมการบริหาร  มีที่ทำการที่ศูนย์พัฒนาตำบลทาขุมเงิน (บ้านสบเมย) ต่อมาในปี พ.ศ. 2541  ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่สนามกีฬาอำเภอแม่ทา (บ้านสวนหลวง) และในปี พ.ศ. 2544  ทางองค์การบริหารส่วนตำบลทาขุมเงินได้ทำการก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่ซึ่งใช้งบประมาณจ่ายขาดเงินสะสม  จำนวน  960,000  บาท และได้เปิดบริการประชาชน  เมื่อวันที่  27  กรกฎาคม  2545  ต่อมาได้สร้างอาคารพัสดุ,ห้องครัว,ห้องพักภารโรง ใช้งบประมาณ  292,000  บาท  องค์การบริหารส่วนตำบลทาขุมเงิน  ได้ทำพิธีเปิดป้ายที่ทำการอย่างเป็นทางการในวันที่   26  กันยายน  2545   ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลทาขุมเงินเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552

1.1    ที่ตั้งและขนาด
     ตำบลทาขุมเงินตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดลำพูน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดลำพูน เป็นระยะทาง  25 กิโลเมตร  และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอแม่ทา  อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่ทาเป็นระยะทาง  17  กิโลเมตร
 
1.2 อาณาเขต 
     ทิศเหนือ           ติดต่อกับ ตำบลเหมืองจี้      อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน

     ทิศใต้              ติดต่อกับ ตำบลทาแม่ลอบ    อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

     ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ ตำบลทากาศ       อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

     ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ ตำบลนครเจดีย์     อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน


1.3  เนื้อที่
    ตำบลทาขุมเงินมีพื้นที่ 98 ตารางกิโลเมตร
 
 

1.4   สภาพพื้นที่และลักษณะภูมิประเทศ
     ตำบลทาขุมเงิน  มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบ  และพื้นที่ราบเชิงเขา ซึ่งพื้นที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่บริเวณ บ้านสันและบ้านศรีป้าน  ส่วนหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาคือมีพื้นที่ราบและเพิ่มระดับความสูงไปเป็นที่ราบสูงและภูเขาคือ  บ้านขุมเงิน บ้านสบเมย บ้านสวนหลวง  บ้านแม่เมย  บ้านดอยครั่ง บ้านแม่เหล็ก บ้านห้วยเดื่อ บ้านป่าไม้  บ้านแพะริมน้ำ  และบ้านปง

1.5  ด้านการบริหารและการปกครอง   
    ตำบลทาขุมเงินแบ่งเขตการปกครองออกเป็น  12  หมู่บ้าน  โดยมีการปกครองในรูปแบบของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน  สำหรับหมู่บ้านที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของ เทศบาลตำบลทาขุมเงิน  เต็มหมู่บ้าน  มีอยู่  10  หมู่บ้าน  คือหมู่ที่  1,2,3,4,6,7,8,9,10,12  และหมู่บ้านที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลบางส่วน และอยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลทากาศบางส่วน ได้แก่หมู่ที่  5, 11   โดยแบ่งเขตการปกครองดังนี้
   

หมู่ที่  1            บ้านขุมเงิน                  ผู้ใหญ่บ้าน         นางกนกขวัญ      สิทธินนท์

หมู่ที่  2            บ้านสบเมย                  ผู้ใหญ่บ้าน         นายสุจิต           กันทะกาศ

หมู่ที่  3           บ้านสวนหลวง               กำนัน               นายคำรณ          ใจกาศ

หมู่ที่  4           บ้านสัน                       ผู้ใหญ่บ้าน         นายประกายแก้ว   มหาวงค์

หมู่ที่  5           บ้านศรีป้าน                  ผู้ใหญ่บ้าน          นายพรชัย          ปันกาศ

หมู่ที่  6           บ้านแม่เมย                   ผู้ใหญ่บ้าน          นายธนภัทร       ไทยใหม่

หมู่ที่  7           บ้านดอยครั่ง                 ผู้ใหญ่บ้าน          นางบัวตูม          ขัดแก้ว

หมู่ที่  8           บ้านแม่เหล็ก                 ผู้ใหญ่บ้าน          นายณัฐวุฒิ        อินจาย

หมู่ที่  9           บ้านห้วยเดื่อ                 ผู้ใหญ่บ้าน          นางสาวกาญจนา ธรรมมากาศ

หมู่ที่  10         บ้านป่าไม้                    ผู้ใหญ่บ้าน          นายบุญทรัพย์     ใจกาศ

หมู่ที่  11         บ้านแพะริมน้ำ               ผู้ใหญ่บ้าน          นายบุญส่ง         ธิกาศ

หมู่ที่  12         บ้านปง                       ผู้ใหญ่บ้าน          นายผิน             ธรรมากาศ


   การเลือกตั้ง
        เทศบาลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลทาขุมเงิน  ทั้งเขตเทศบาลเป็น ๑ เขตเลือกตั้ง  สมาชิกสภาออกเป็น  ๒  เขตเลือกตั้ง  ดังนี้

เขตเลือกตั้งที่   1  ประกอบด้วย
 
            หมู่ที่  2 บ้านสบเมย
            หมู่ที่  6 บ้านแม่เมย
            หมู่ที่  8 บ้านแม่เหล็ก
            หมู่ที่  9 บ้านห้วยเดื่อ

เขตเลือกตั้งที่  2  ประกอบไปด้วย
            
            หมู่ที่  1 บ้านทาขุมเงิน
            หมู่ที่  3 บ้านสวนหลวง
            หมู่ที่  4 บ้านสัน
            หมู่ที่  5 บ้านศรีป้าน (บางส่วน)
            หมู่ที่  10 บ้านป่าไม้
            หมู่ที่  11 บ้านแพะริมน้ำ
            หมู่ที่  12 บ้านปง 

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
         -  จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ชาย 2,483 คน หญิง 2,685 คน รวม 5,168 คน

  1.6  จำนวนประชากร บ้านและครัวเรือน
  จำนวนประชากร บ้านและครัวเรือน ประชากรตำบลทาขุมเงิน ปัจจุบันมีประชากร จำนวน 5,930 คน เป็นชาย 2,878 คน หญิง 3,052 คน 

ตารางแสดงจำนวนประชากรและครัวเรือนของตำบลทาขุมเงิน
 
หมู่บ้าน จำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม
หมู่ที่  1  บ้านทาขุมเงิน 185 212 397
หมู่ที่  2  บ้านสบเมย 469 573 1,042
หมู่ที่  3  บ้านสวนหลวง 257 260 517
หมู่ที่  4  บ้านสัน 390 410 800
หมู่ที่  5  บ้านศรีป้าน 53 71 124
หมู่ที่  6  บ้านแม่เมย 414 387 801
หมู่ที่  7  บ้านดอยครั่ง 239 255 494
หมู่ที่  8  บ้านแม่เหล็ก 176 164 340
หมู่ที่  9  บ้านห้วยเดื่อ 307 344 651
หมู่ที่  10  บ้านป่าไม้ 176 203 379
หมู่ที่  11  บ้านแพะริมน้ำ 30 27 57
หมู่ที่  12  บ้านปง 160 135 295
รวม 2,856 3,041 5,897

ที่มา : อำเภอแม่ทา มิถุนายน พ.ศ. 2566

1.7  สภาพเศรษฐกิจ
      ตำบลทาขุมเงิน  ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ซึ่งการเกษตรกรรมส่วนใหญ่ได้แก่การปลูกไม้ยืนต้น  โดยเฉพาะ ลำไย  นับเป็นพืชยืนต้นที่ปลูกกันมากในพื้นที่ตำบลทาขุมเงิน  โดยส่วนใหญ่แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่  หมู่ที่  9  บ้านห้วยเดื่อ  หมู่ที่  8  บ้านแม่เหล็ก  หมู่ที่  6  บ้านแม่เมย  และหมู่ที่  2  บ้าน สบเมย  นอกจากลำไยแล้ว  ยังมีการปลูกมะม่วง  แต่มีเพียงส่วนน้อย  นอกจากพืชยืนต้นแล้ว  ราษฎรในตำบลยังนิยมปลูกกระเทียม  หอมแดง  ซึ่งนับว่าเป็นสินค้าที่สำคัญของตำบลทาขุมเงินอีกชนิดหนึ่ง  นอกจากนี้ยังมีการปลูกผักซึ่งผักที่ปลูกกันมาก ได้แก่  ผักชี  ต้นหอม  พริกขี้หนู  กะหล่ำดอก  คะน้า ฯลฯ
    ราคาของผลผลิตส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง ซึ่งเป็นผู้รับซื้อผลผลิตของเกษตรกร  เกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับผู้ผลิตสินค้าเกษตรกรรม  ดังนั้นราคาของสินค้าเกษตรกรรมจึงเป็นไปตาม

กลไกของตลาด

    นอกจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ยังมีการประกอบอาชีพต่างๆ เช่น ค้าขาย  รับราชการ แกะสลัก  และมีแรงงานอยู่ในภาคนิคมอุตสาหกรรมอีกด้วย
    หน่วยธุรกิจภายในตำบลทาขุมเงิน       
     
สินค้าเกษตร  ที่สำคัญ  คือ
ลำไยเป็นไม้ยืนต้นที่ปลูกกันมากในตำบล  ถือว่าเป็นสินค้าหลักของเกษตรกรในตำบล กระเทียม ถือเป็นพืชเศรษฐกิจของตำบลอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกษตรกรปลูกกันมากหลังจากทำนาพืชผัก  ที่ปลูกในตำบลส่วนใหญ่ได้แก่  ผักชี  พริกขี้หนู  กะหล่ำดอก  ต้นหอม 

อุตสาหกรรม
    ในตำบลมีการทำสัมปทานเหมืองแร่ฟลูออไรท์   ซึ่งมีเหมืองแร่ในตำบลทาขุมเงิน  อยู่จำนวน 3  บริษัท เหมืองแร่ฟลูออไรท์และฟอสเฟต ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3  บ้านสวนหลวง และบ้านปง หมู่ที่ 12

การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
    ไม้แกะสลัก  ถือเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สำคัญของตำบลทาขุมเงิน  โดยหมู่บ้านที่ประกอบอาชีพแกะสลัก ได้แก่บ้านป่าไม้  หมู่ที่  10  และบ้านสัน  หมู่ที่  4  ซึ่งมีการแกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการแกะสลักเป็นรูปตุ๊กตา และของใช้ต่างๆ
    ผ้าทอมือ  มีการรวมกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองของกลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านปง  หมู่ที่  12  เป็นการทอผ้าแบบพื้นเมือง  ซึ่งอยู่ในช่วงเริ่มแรกตั้งกลุ่ม  นอกจากนี้ยังมีการรับทอผ้าตามออร์เดอร์ของบ้าน  ขุมเงิน  หมู่ที่  1 
ซึ่งเป็นการเสริมรายได้ให้แก่กลุ่มแม่บ้าน
    กลุ่มอาชีพ
    1.  กลุ่มทอผ้ากี่กระตุก  บ้านทาขุมเงิน  หมู่  1
    2.  กลุ่มจักสาน  บ้านแม่เมย หมู่ที่ 6
    3.  กลุ่มแปรรูปอาหาร บ้านสวนหลวง หมู่ที่ 3
    4.  กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ บ้านสวนหลวง หมู่ที่ 3 , บ้านป่าไม้ หมู่ที่ 10
    5.  กลุ่มดอกไม้จันทน์ พวงหรีด บ้านสบเมย หมู่ที่ 2
    6.  กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง บ้านสวนหลวง หมู่ที่ 3   
    นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวของกลุ่มอื่นๆ เพื่อผลประโยชน์ และสวัสดิการของสมาชิกในกลุ่ม เช่น
- กลุ่มออมทรัพย์        - กลุ่มเยาวชน     - กลุ่มสตรีแม่บ้าน
- กลุ่มกีฬา               - กลุ่มผู้สูงอายุ     - กลุ่มสัจจะ
- กลุ่มฌาปนกิจหมู่บ้าน

แรงงาน

        แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ รับจ้างห้างร้าน เอกชน ห้างสรรพสินค้า ใหญ่ในตัวเมือง แรงงานภาคเกษตรกรรมในตำบล รับจ้างทั่วไป และมีแรงงานต่างชาติ ประเทศเมียนมาร ในตำบล

1.8  สภาพสังคม

ด้านการศึกษา
    ตำบลทาขุมเงิน  มีการจัดระบบการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน  มีสถานศึกษาในระดับอนุบาลและประถมศึกษา  ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้
การศึกษาในระบบโรงเรียน
-  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง จำนวนนักเรียน 56 คน ครูผู้ดูแลเด็ก 5 คน 

ลำดับที่ ชื่อโรงเรียน จำนวนนักเรียนชาย จำนวนนักเรียนหญิง รวมทั้งสิ้น
1 โรงเรียนบ้านศรีป้าน 81 68 149
2 โรงเรียนบ้านแม่เมย 89 79 168
    170 147 317


ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ของตำบลทาขุมเงิน    นับถือศาสนาพุทธ   มีวัดทั้งหมด  6   วัด      ได้แก่ 
1.  วัดทาขุมเงิน 
2.  วัดทาสบเมย 
3.  วัดทาสวนหลวง 
4.  วัดทาศรีป้าน  
5.  วัดทาดอยครั่ง
6.  วัดถ้ำจอมธรรม

สำนักสงฆ์  3  แห่ง  ได้แก่ 
1.  สำนักสงฆ์บ้านแม่เมย 
2.  สำนักสงฆ์ป่าไม้  
3.  สำนักสงฆ์บ้านแม่เหล็ก            
นอกจากนี้ยังมีประชากรบางส่วน คือบ้านแม่เหล็ก  ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขา  มีการนับถือศาสนาพุทธ  คริสต์  และยังมีการนับถือผี  ซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา
   
การบริการสาธารณสุข
      จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี  มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง  โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน  ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน  โรคเอดส์  โรคไข้เลือดออก  มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล  ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี  การแก้ไขปัญหา คือ เทศบาลและหน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาล  ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง  ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี 
        (๑)  หน่วยงานด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ                     1    แห่ง
          สถานพยาบาลรัฐบาล (โรงพยาบาลแม่ทา สาขาป่าไม้)        1    แห่ง
          ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                     -    แห่ง

อาชญากรรม
        เทศบาลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น  แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินของราชการ  ซึ่งเทศบาลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
       วิธีการแก้ปัญหาของเทศบาลที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด  ได้ตั้งจุดตรวจ  จุดสกัด จุดบริการ  ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน  มีการ การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ  ผู้นำ  อปพร.  เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุนแรง ในกรณีมีงานมหรสพ

จุดตรวจความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    -  หน่วยบริการประชาชน            1   แห่ง   ( บ้านสวนหลวง หมู่ที่ 3)
    -  จุดตรวจประจำตำบล              1   แห่ง   (บ้านแม่เมย  หมู่ที่ 6)

1.9  การบริการขั้นพื้นฐาน
ในเขตเทศบาลมีระบบบริการพื้นฐาน  ดังนี้

การคมนาคมขนส่ง

    การคมนาคม    ในเขตพื้นที่ตำบลทาขุมเงินมีเส้นทางติดต่อกับอำเภอต่างๆ ดังนี้
    1.  เส้นทางติดต่อกับตัวจังหวัดลำพูน  โดยทางหลวงสายบ้านก้วม – ผาเงิบ ระยะทางประมาณ  5  กม. และเชื่อมต่อกับตัวจังหวัดโดยทางหลวงสาย ท่าจักร- แม่ทา ระยะทางประมาน  11  กม. เชื่อมต่อกับทางหลวงสายลำพูน – ป่าซาง  ระยะทาง  9  กม. รวมระยะทาง  25  กิโลเมตร 
   
    2.  เส้นทางติดต่อกับอำเภอแม่ทา   โดยทางหลวงสายท่าจักร  –  แม่ทา   ระยะทางประมาณ   17  กม.
จากอำเภอแม่ทาสามารถต่อไปยังจังหวัดลำปางได้
   
    3.  เส้นทางติดต่อกับอำเภอป่าซาง โดยทางหลวงสายบ้านก้วม – ผาเงิบ ระยะทางประมาณ  30 กม.ทางสายนี้เชื่อมต่อกับอำเภอป่าซาง และสามารถเดินทางต่อไปยังอำเภอบ้านโฮ่ง  อำเภอลี้ได้

การไฟฟ้า

     การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์  ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด  เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ  เทศบาลจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ  ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่  และวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร  ทั้งนี้  เทศบาลก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน  

การประปา
     การประปา  หมู่บ้านในเขตเทศบาลมีระบบประปาของแต่ละหมู่บ้าน สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน  คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์   ปัญหาคือ  ฤดูแล้งบางหมู่บ้านน้ำไม่พอใช้ แหล่งน้ำดิบแห้ง   การแก้ปัญหาคือ การลงพื้นที่ดำเนินการแก้ไขตามจุดที่เกิดปัญหาในทันที  การพิจารณาโครงการต่างๆ  ที่ไม่สามารถดำเนินการได้นั้น  เทศบาลก็ได้นำบรรจุในแผนพัฒนาฯ เพื่อที่จะพิจารณาดำเนินการในปีต่อไป  เมื่อมีงบประมาณและความจำเป็นก็สามารถดำเนินโครงการได้ต่อเนื่อง  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป 

โทรศัพท์

  1 ในพื้นที่มีเสาสัญญาณโทรศัพท์ จำนวน   5  จุด พื้นที่สามารถรับสัญญาณได้ทั้งหมด
  2 เสียงตามสายในหมู่บ้านให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ  100 ของพื้นที่เทศบาล

ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
   ไม่มีไปรษณีย์  ในพื้นที่ตำบล นำส่งไปรษณีย์ในตำบลทากาศ

1.10  แหล่งน้ำ 
     ทรัพยากรน้ำ  แหล่งน้ำที่สำคัญในตำบลทาขุมเงิน  มีแม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำทา แม่น้ำเมย แม่น้ำ      แม่ขนาด นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำแม่เมยซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของตำบลทาขุมเงินแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

1.11 ประเพณีและงานประจำปี
        ตำบลทาขุมเงินมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มีภาษาพูดเป็นของตนเอง เรียกว่าคำเมือง และภาษายอง  มีการสืบทอดวัฒนธรรมจากผู้แก่ผู้เฒ่าจนมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน ได้มีการสืบทอดต่อๆ กันมา  โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญดังต่อไปนี้
    1.  ประเพณีตานข้าวใหม่  ซึ่งจะทำกันในช่วงเริ่มต้นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งประเพณีนี้จะทำกันภายหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ถือเป็นการบูชาพระแม่โพสพ และเพื่อเป็น ศิริมงคลแก่ชาวนา
    2.   ประเพณีสงกรานต์  จัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน แต่ละหมู่บ้านจะจัดให้มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ  และจัดให้มีการละเล่นต่างๆ นอกจากนี้แต่ละหมู่บ้านจะจัดให้มีประเพณีรดน้ำดำหัวเจ้าอาวาส หรือสรงน้ำรูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาส ซึ่งในงานจะมีมหรสพต่างๆ โดยชาวบ้านของหมู่บ้านนั้นๆ จะจัดครัวทานนำไปถวาย
    3.  ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา    จะจัดขึ้นในงานประเพณีเข้าพรรษา    ซึ่งทางเทศบาลตำบลทาขุมเงินได้จัดให้มีการแห่เทียนเข้าพรรษา โดยให้หมู่บ้านต่างๆ ได้จัดแต่งต้นเทียนจำนำพรรษา และจัดริ้วขบวนเพื่อถวายเทียนเข้าพรรษาแก่พระภิกษุ โดยจัดขึ้น ณ สนามกีฬาเทศบาลตำบลทาขุมเงิน บ้านสวนหลวง
    4.  ประเพณีลอยกระทง  จัดขึ้นในเดือนยี่เป็ง โดยแต่ละหมู่บ้านจัดให้มีการประกวดเจดีย์ทราย หนูน้อยนพมาศ  ประกวดกระทง  ประกวดดอกไฟดอก  นอกจากนี้ยังมีการฟังเทศน์ เพื่อเป็นการจรรโลงจิตใจของประชาชนในแต่ละหมู่บ้านอีกด้วย
    5.  ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือ สลากภัตร  โดยจะทำบุญในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งในตำบลจะหมุนเวียนกันไปในแต่ละปี โดยจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนเปลี่ยนวัดกันไป
    6.  ประเพณีทำบุญเสื้อบ้าน ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำบุญไม่ตรงกัน จัดทำขึ้นเพื่อให้หมู่บ้านของตนจะได้อยู่เย็นเป็นสุข ทั้งผู้คนและสัตว์

1.12  การท่องเที่ยว
        ในตำบลทาขุมเงินมีโบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม  สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
ประเภทธรรมชาติ ได้แก่ 
-  ถ้ำจำหม่าฟ้า และถ้ำบริวาร 11 คูหา   ถ้ำนี้ตั้งอยู่บ้านแม่เหล็ก หมู่ที่ 8   เป็นถ้ำที่มีหินงอก หินย้อย แต่ปัจจุบันขาดการดูแลรักษา  เนื่องจากเส้นทางการคมนาคมไม่สะดวก
- อ่างเก็บน้ำแม่เมย
   
ประเภทวัฒนธรรม  ได้แก่
-  หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่เหล็ก  หมู่ที่  8

ประเภทเศรษฐกิจ ได้แก่
-  ร้านอาหารไร่ริชชา
-  ร้าน Garden House Cafe

1.13  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
        ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประชาชนในเขตเทศบาลได้อนุลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่ ดนตรีพื้นเมือง  วิธีการแกะสลักไม้ การจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ใช้สำหรับขายและใช้ในครัวเรือน  ผ้าทอกี่กระตุก ผ้าทอชาวเขา ปราชญ์ชาวบ้าน
         ภาษาถิ่น  ส่วนมากร้อยละ ๙๐ % พูดภาษาเหนือ ภาษาพื้นเมือง ภาษายอง

1.14  ทรัพยากรธรรมชาติ
  1 น้ำ  ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค  เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำดิบจากแม่น้ำทา น้ำแม่ขนาด และการเจาะบ่อบาดาล ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา 
  2 ป่าไม้  ในเขตเทศบาลส่วนมากเป็นป่าสงวนแห่งชาติ
  3 ภูเขา  ในเขตเทศบาลมีภูเขาสลับซับซ้อน
  4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
     ในพื้นที่ของเทศบาลส่วนมากเป็นพื้นที่ภูเขา และป่าไม้ ส่วนพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย  ร้านค้า  สถานประกอบการ  ตามลำดับ  และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ก็ได้แก่  ดิน  น้ำ  ต้นไม้  อากาศมีมลพิษบ้าง ปัญหาคือการเผาป่า บางส่วนเป็นฟาร์มเลี้ยงสุกร ฟาร์มไก่ ทำให้มีกลิ่นเป็นบางช่วงเวลา    และน้ำฝนน้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ  ถึงแม้จะมีอ่างเก็บน้ำแม่เมย ก็ไม่สามารถดึงน้ำมาใช้ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่   เนื่องจากปัญหาระยะทาง   และไม่มีงบประมาน   ที่เพียงพอเพื่อติดตั้งท่อส่งน้ำ และการผันน้ำมาใช้ น้ำเพื่อการเกษตรจึงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน  เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน  เอกชน  ปัญหาด้านขยะ  ประชาชนบางหมู่บ้านไม่สามารถจัดการขยะในหมู่บ้านได้ และเทศบาลยังหาที่กำจัดขยะของตำบลไม่ได้ ไม่มีหมู่บ้านใดมีพื้นที่ให้เป็นที่กำจัดขยะในตำบล ประกอบกับการทำประชาคม และสำรวจผลกระทบในการก่อสร้างที่กำจัดขยะทำให้ล่าช้า การแก้ไขปัญหา เทศบาลได้จัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนและเป็นไปตามความต้องการของประชาชน  เช่น การเก็บขยะไปทิ้งฝังกลบในที่ของหมู่บ้าน การเผาขยะให้หมู่บ้าน โครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของตนเองและที่สาธารณะรวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของเมืองให้ร่มรื่นสวยงาม ให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน  ฯลฯ